directions_run

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อโคและแพะคุณภาพสูงเพื่อการประกอบการ (หลักสูตร Non-Degree)

การตัดแต่งและแบ่งชิ้นส่วนซากแพะแบบสากล25 พฤษภาคม 2567
25
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Sareena
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมการเรียนการสอนในส่วนปฏิบัติที่ผู้เรียนลงมือทำการตัดแต่งและแบ่งชิ้นส่วนซากแพะ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการทำความเข้าใจวิธีการจัดการและแปรรูปแพะเพื่อใช้ประโยชน์จากเนื้อและส่วนอื่นๆ ให้เกิดความคุ้มค่า ในกิจกรรมนี้ ผู้เรียนจะได้รับทักษะในการใช้เครื่องมือที่ถูกต้องและปลอดภัย รวมถึงการแบ่งชิ้นส่วนซากแพะให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ในอาหารหรือการแปรรูปอื่นๆ เช่น การทำเนื้อแห้ง การผลิตเนื้อสด หรือการผลิตผลิตภัณฑ์จากหนังและขน โดยปฏิบัติการแปรสภาพแพะตามหลักการฮาลาล ในการแปรสภาพแพะเพื่อบริโภคตามข้อบัญญัติของศาสนาอิสลาม ต้องเป็นการฆ่าสัตว์เพื่อบริโภค และเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา และการคำนวณองค์ประกอบของซากสัตว์ หรือ การคำนวณองค์ประกอบของซากเนื้อสัตว์ การประเมินส่วนประกอบต่างๆ ของซากสัตว์หลังการฆ่า ซึ่งประกอบด้วยหลายส่วนสำคัญ เช่น เนื้อ, กระดูก, ไขมัน, เครื่องใน และส่วนอื่นๆ โดยการคำนวณนี้มักใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพของเนื้อสัตว์และเพื่อคำนวณปริมาณหรือการจัดสรรส่วนต่างๆ ของสัตว์ในเชิงเศรษฐกิจ • การแปรสภาพแพะตามหลักการฮาลาล - การฆ่าแพะที่ถูกต้องตามหลักการฮาลาลเรียกว่า ซิบะฮะ (Zibah) ซึ่งเป็นกระบวนการฆ่าสัตว์โดยใช้ การกล่าวคำบิสมิลลาห์ (Bismillah) และการกล่าวคำของอัลลอฮ์ เมื่อฆ่าแพะจะต้องกล่าวคำ "บิสมิลลาห์ อัลลอฮุอักบาร์" (Bismillah Allahu Akbar) ซึ่งหมายถึง "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ พระองค์ผู้ยิ่งใหญ่" ก่อนทำการฆ่า เพื่อให้กระบวนการฆ่าเป็นไปตามหลักศาสนา วิธีการฆ่า: การฆ่าจะต้องใช้ มีดที่คม และต้องทำการตัดที่ หลอดลม และหลอดเลือดแดงใหญ่  ซึ่งจะช่วยให้เลือดออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว เพื่อให้แพะตายอย่างมนุษยธรรมและไม่ตกอยู่ในสภาพที่ทนทุกข์ ห้ามฆ่าสัตว์ที่มีอาการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บหรือมีสภาพไม่เหมาะสม เช่น แพะที่ตายเองหรือถูกฆ่าด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามหลักฮาลาล • การตัดแต่งซากแพะ 1. ตัดหัวออก โดยใช้มีดตัดแยกหัวออกจากลำตัว โดยตัดจากรอยเชือดคอเดิมซึ่งอยู่บริเวณคอหอยไปยังข้อต่อระหว่างกระดูกคอกับกระดูกกะโหลก 2. ตัดแข้งหน้าและแข้งหลัง โดยตำแหน่งของการตัดแข้งหน้าตรงข้อต่อของกระดูกแข้งออกจากกระดูกขาส่วนล่าง มีลักษณะรอยที่หัวกระดูกแข้งหน้า และตำแหน่งของการตัดแข้งหลังออกจากกระดูกขาหลังส่วนล่าง 3. ใช้มีดคว้านรอบทวารหนักจากนั้นใช้ยาง หรือเชือดรัดปิดรูทวารไม่มีมูลทะลักออกมาเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของมูลไปยังซากและส่วนต่างๆของซาก 4. เลาะหนัง (ถลกหนัง) ออกจากซากเป็นขั้นตอนตามมาตรฐานสากล เริ่มจากการผ่าเปิดหนังด้านในของขาหลัง แล้วใช้มีดกรีดมาบรรจบที่จุดกึ่งกลางระหว่างขา เลาะหนังรอบๆ ขาออก จากนั้นกรีดหนังบริเวณท้องลงมาไปจนถึงยอดอก เลาะหนังจากขาหลัง สะโพก ลำตัว ไหล่ลงมาจนหนังหลุดออก
5. เปิดซากเพื่อเอาอวัยวะภายในออก เริ่มจาการใช้มีดผ่าเปิดหน้าท้องตรงตำแหน่งใต้กระดูกเชิงกรานไล่ลงไปจนถึงบริเวณกระดูกหน้าอกเพื่อเอาระบบทางเดินอาหาร ตับ ปอด ขั้วปอด และหัวใจออกก่อนที่จะนำซากไปล้างและแช่เย็น 6. ล้างทำความสะอาดซาก โดยจะทำความสะอาดหลังจากตกแต่งซากก่อนที่จะนำซากเข้าไปในห้องเย็น หรือส่งขายในซากอุ่น โดยการล้างทำความสะอาดซากจะทำโดยการฉีดน้ำแบบพ่นฝอยเพื่อล้างคราบเลือด เศษกระดูก มูล และสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ที่อยู่ส่วนนอกจากซาก ทิ้งให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นจึงนำไปชั่งน้ำหนักซากอุ่น แล้วนำไปแช่เย็นที่อุณหภูมิ 3-5 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังจากแพะตาย
• การตัดแต่งซากเป็นส่วนใหญ่ การตัดแต่งซากแพะที่เน้นโดยแบ่งออกเป็นการตัดแต่งซกออกเป็นส่วนใหญ่ และการตัดแต่งซากเป็นชิ้นส่วนย่อย ซึงการตัดแต่งซากมีความแต่งต่างจากรูปแบบการตัดแต่งแบบพื้นบ้านที่มุ่งเน้นเพียงการตัดแยกชิ้นส่วนของเนื้อแดงออกจากซากเพื่อนำไปทำเมนูทั่วไป เช่น คั่วกลิ้ง มัสมั่น และซุป เป็นต้น 1. คอ
ตำแหน่งที่ตัดแยก : เป็นส่วนที่ตัดแยกผ่านกระดูกคอที่ต่อกับกระดูกสันหลังช่วงอก 2. ไหล่
ตำแหน่งที่ตัดแยก : เป็นชิ้นส่วนไหล่ทั้งหมด โดยนำซากที่ตัดแยกส่วนคอ อกและพื้นท้อง และขาหน้าออก แล้วตัดแยกส่วนไหล่ออกจากซากส่วนที่เหลือตรงตำแหน่งระหว่างซี่โครงซี่ที่4 และ 5 3. อกและพื้นท้อง ตำแหน่งที่ตัดแยก : การตัดส่วนอกแบบที่ 1 จะตัดตามขวางกระดูกซี่โครงให้ขนานกับกระดูกสันหลัง กว้างประมาณ 1 ใน 3 ของความกว้างของกระดูกอกถึงกระดูกสันหลัง ให้ติดเนื้อส่วนพื้นท้อง 4. ไหล่และอก ตำแหน่งที่ตัดแยก : การตัดส่วนอกแบบที่ 2 จะแบ่งส่วนไหล่และอกออกจากวาก โดยตั้งฉากกับกระดูกสันหลังตรวตำแหน่งระหว่าซี่โครงซี่ที่ 3 กับ 4 แล้วแยกส่วนอกออกจากส่วนไหล่อีกครั้ง โดยแบ่งครึ่งตัด ได้ส่วนไหล่ การตัดแบบนี้จะได้เนื้อส่วนอกและไหล่ที่มีกระดูกใบพายติดมาด้วยกัน 5. ขาหน้า ตำแหน่งที่ตัดแยก : เป็นชิ้นส่วนที่ตัดแยกออกจากซาก โดยเลาะตรงซอกขาหน้าชิดกับลำตัว 6. ซี่โครง ตำแหน่งที่ตัดแยก : เป็นส่วนที่ตัดผ่านกระดูกสันหลังตรงซี่โครงซี่ 6 ถึงซี่โครงที่ 12 7. สะเอว ตำแหน่งที่ตัดแยก : เป็นส่วนที่ตัดผ่านกระดูกสันหลังตรงกระดูกซี่โครงที่ 13 จนถึงกระดูกสันหลังข้อสุดท้าย 8. สะโพกและขาหลัง ตำแหน่งที่ตัดแยก : เป็นชิ้นส่วนตัดส่วนสะโพกและขาหลังโดยตัดตั้งฉากกับลำตัวผ่านกระดูกสันหลัง • การตัดแยกซากออกเป็นชิ้นส่วนย่อย 1. ส่วนคอและไหล ตำแหน่งที่ตัดแยก : เป็นชิ้นส่วนสำคัญ ก่อนที่จะตัดแยกส่วนนี้จะทำการเลาะแยกชิ้นส่วนขาหน้าออกไปก่อน จากนั้นจึงใช้เลื่อยตัดแยกส่วนอกออก แล้วจึงตัดแยกส่วนคอและไหล่ออกจากส่วนซี่โครงจะตัดตรงกระดูกซี่โครงซี่ที่ 5 กับ 6
การนำไปประกอบอาหาร : แกง ผัด แพะตุ๋น การนำไปแปรรูป : ลูกชิ้น ไส้กรอก และเจอร์กี้ 2. หน้าอก พื้นท้อง และแข้งหน้า ตำแหน่งที่ตัดแยก : ในการตัดแยกชิ้นส่วนหน้าอกและพื้นท้อง จะตัดแยกชิ้นไหล่ส่วนอกที่รวมทั้งขาหน้าออกมาด้วย ซึ่งจะทำโดยการใช้เลื่อยตัดแบ่งส่วนไหล่ซึ่งมีกระดูกใบพายและกระดูกขาหน้าส่วนบนออกไป ส่วนที่เหลือคือส่วนหน้าอก แข้งหน้า และพื้นท้อง การนำไปประกอบอาหาร : เนื้อสไลด์ ชาบู บาบีคิว ย่าง ผัด การนำไปแปรรูป : ลูกชิ้น ไส้กรอก เบคอน 3. ขาหน้า ตำแหน่งที่ตัดแยก : ขาหน้าประกอบด้วยส่วนที่เป็นกระดูกใบพาย กระดูกฮิวเมอรัส กระดูกดียส-อูลน่า คาร์ปอล และกระดูกเมทต้า คาร์ปอล จากนั้นเลาะแยกออกจากส่วนลำตัว แล้วนำไปตัดแยกเอากระดูกใบพายออก ส่วนที่เหลือก็จะตัดเป็นชิ้นๆ หนาประมาณ 3 ใน 4 ส่วนตรงกระดูกใบพายก็จะเลาะแยกออกมาใช้ประโยชน์ การนำไปประกอบอาหาร : เนื้อสไลด์ แจ่วฮ้อน ชาบู แกง การนำไปแปรรูป : ลูกชิ้น ไส้กรอก
4. ซี่โครง หรือสันซี่โครง ตำแหน่งที่ตัดแยก : ซี่โครงเป็นชิ้นส่วนที่ตัดแยกออกจากส่วนไหลตั่งแต่กระดูกซี่โครงซี่ที่ 5 และตัดแยกออกจากส่วนสะเอวออกตรงซี่โครงซี่ที่ 12 การนำไปประกอบอาหาร : ย่าง อบ 5. สะเอว ตำแหน่งที่ตัดแยก : เป็นส่วนที่มีกล้ามเนื้อสันในติดมาด้วย นิยมตัดให้เป็นชิ้นๆ หรืออาจจะตัดเลาะเอากระดูกซี่โครงที่ติดมาออกก็จะได้เนื้อชิ้นใหญ่ที่มีลักษณะเป็นแผ่นออกมา การนำไปประกอบอาหาร : เนื้อสไลด์ แจ่วฮ้อน ชาบู ผัด อบ
การนำไปแปรรูป : ลูกชิ้น ไส้กรอก
6. ขาหลังและสะโพก ตำแหน่งที่ตัดแยก : ชิ้นส่วนขาและสะโพกสามารถตัดแยกออกได้เป็นชิ้นที่แยกเอากระดูก หรืออาจจะตัดแยกเอาส่วนแข้งออก หรืออาจจะแยกส่วนสะโพกออกไปด้วย
การนำไปประกอบอาหาร : เนื้อสไลด์ แจ่วฮ้อน ชาบู ผัด แกง แพะตุ๋น การนำไปแปรรูป : ลูกชิ้น ไส้กรอก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การตัดแต่งและแบ่งชิ้นส่วนซากแพะแบบสากลและตามหลักการฮาลาและการแปรสภาพแพะเพื่อการใช้ประโยชน์โดยการแปรสภาพแพะเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งของการผลิตเนื้อแพะที่มีคุณภาพดีโดยทางสากลการแปรสภาพแพะจากมีชีวิตเป็นซากแบ่งออกได้เป็นสองช่วงเวลา ช่วงแรก เป็นช่วงเวลาของการเตรียมตัวแพะมีชีวิตให้อยู่ในสภาพพร้อมต่อเนื่องไปจนถึงสลบ หรือหมดความรู้สึก ด้วยเครื่องมือกล เช่นการใช้ปืนทำให้สลบ หรือใช้ไฟฟ้าช็อค จากนั้นเข้าสู่ช่วงที่สอง คือ การเชือดคอ หรือแทงคอเอาเลือดออก ซึ่งต้องทำอย่างมีมนุษยธรรมและถูกต้องตามหลักสากล ทั้งนี้เพื่อให้แพะตายอย่างรวดเร็ว ไม่ทรมาน เลือดจากซากมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซากได้รับการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด และทุกขั้นตอนต้องเน้นความสะอาด
การจัดการตัวแพะก่อนแปรสภาพ ตามมาตรฐานสากลการจัดการตัวแพะก่อนแปรสภาพเพื่อให้ได้แพะที่มีความสมบูรณื มีสุขภาพดี ไม่อ่อนแอ ไม่อมโรค ไม่เจ็บป่วย ไม่อยู่ในระยะรักษาหรือพักฟื้น ต้อวกระทำอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ทั้งนั้นให้ได้แพะที่มีความสมบูรณ์ก่อนที่จะส่งไปแปรสภาพ
การตรวจร่างกายก่อนแปรสภาพ การตรวจสุขภาพร่างกายก่อนนำไปแปรสภาพเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ต้องดำเนินการ เพื่อรับประกันว่าสัตว์ที่จะนำมาฆ่าเพื่อบริโภคมีสุขภาพดี ไม่อมโรค ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นพาหะนำโรค หรือไม่ได้รับบาดเจ็บ เป็นสร้างความมั่นใจว่าแพะที่นำมาแปรสภาพมีความสมบูรณืเหมาะสม จึงเป็นการตรวจสอบขั้นต้น โดยวิธีการสังเกตดูรูปร่างและลักษณะอาการทั่วไปของสัตว์ เช่น พฤติกรรม เดิน ยืน นอน พฤติกรรมการขับถ่ายปัสสาวะและมูล สีของปัสสาวะ ลักษณะของมูล ลักษณะการบวมตามจุดต่างๆของร่างกาย การประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายแพะ การประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายแพะ เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสภาพร่างกายของแพะ เช่น ผอมมาก ผอม อ้วน หรืออ้วนมาก ใช้เพื่อตัวบ่งบอกถึงการเลี้ยงดู การจัดการด้านอาหาร และสุขภาพ ทั้งนี้การประเมินความสมบูรณืของร่างกายแพะมีความสัมพันธ์กับข้อมูลการพัฒนาและปรับปรุงพันธ์ การจัดการด้านอาหาร การดูแลสุขภาพสัตว์ การจัดการฆ่าและซาก โดยแบ่งค่าคะแนนออกเป็น 5 ระดับ
• ผอมมากที่สุด
สภาพร่างกายของแพะ : สวาบบุ๋มลึก สังเกตเห็นปุ่มของกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกโคนหางอย่างชัดเจน ส่วนเอวมองเห็นของกระดูกสันหลังชัดเจน ช่วงอกเล็ก และมองเห็นกระดูกซี่โครงชัดเจน กล้ามเนื้อทุกส่วนลีบเล็ก ไม่ปรากฏว่ามีไขมันปกคลุมอยู่บริเวรส่วนหลังและส่วนสะโพก รวมทั้งไม่มีไขมันสะสมอยู่รอบๆจุดต่อตรงส่วนยอดกระดูกสันหลัง โดยปกติแพะที่อยู่ในสภาพนี้จะไม่นำมาฆ่าเพื่อบริโภค • ผอม สภาพรางกายของแพะ : ร่างกายแพะมีสภาพผอม แต่ไม่โทรมมากแต่ยังมองเห็นกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกโคนหางที่ชัดเจน สภาพนี้ยังไม่ควรนำไปแปรสภาพเพื่อบริโภค • ปานกลาง สภาพร่างกายแพะ : ร่างกายของแพะมีกล้ามเนื้อมากกว่าระดับผอม แต่แพะไม่ได้อ้วนยังสามารถสัมผัสโดนบ้างส่วนของกระดูกซี่โครง ส่วนหัวและส่วนปลายของกระดูกสันหลังในการเตรียมแพะ เพื่อนำไปแปรสภาพเป็นเนื้อ • อ้วน สภาพร่างกายแพะ : สัมผัสเจอเนื้อในปริมาณมากกว่าระดับปานกลาง โดยสัมผัสไม่เจอกระดูก ไม่สัมผัสส่วนปลายของกระดูกสันหลัง สะโพกและก้นกล้ามเนื้อเต็ม แลหน้าอกแน่นเต็ม • อ้วนมากเกินไป สภาพร่างกายแพะ : ร่างกายแพะสภาพอ้วนมาก เมื่อใช้มือคลำพบว่าร่างกายมีไขมันใต้ผิวหนังมาก รวมทั้งในส่วนยอดอกไหล่และสีข้าง ช่องท้อง ระหว่าซี่โครง สะโพก โคนหาง และหางมีไขมันสะสมอยู่มากจนสัมผัสไม่พบส่วนกระดูก ลักษณะทางกายวิภาคของแพะ แพะเป็นสัตว์ที่มีโครงสร้างทางกายวิภาคที่คล้ายคลึงกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป มีอวัยวะภายในที่สำคัญเช่น หัวใจ ปอด ตับ และไต กระดูกของแพะมีลักษณะเบาและแข็งแรง ทำให้เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นเนื้อ • การตัดแยกซากออกเป็นชิ้นส่วนใหญ่ การตัดแต่งซากแพะเริ่มต้นจากการแบ่งซากออกเป็นชิ้นส่วนใหญ่ ซึ่งมักแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ
ซีกหน้าหรือส่วนหน้า (Forequarters): ประกอบด้วยส่วนของไหล่ ขาหน้า และส่วนที่ติดกับกระดูกอก ซีกหลังหรือส่วนหลัง (Hindquarters): ประกอบด้วยส่วนสะโพก ขาหลัง และกระดูกสันหลังส่วนท้ายในการแบ่งชิ้นส่วนใหญ่ ควรใช้มีดที่คมและแข็งแรง เพื่อให้การตัดมีความแม่นยำและไม่ทำให้เนื้อเสียหาย • การแบ่งชิ้นส่วนแพะได้อย่างถูกต้อง การแบ่งชิ้นส่วนแพะอย่างถูกต้องจะช่วยให้สามารถนำไปทำอาหารได้อย่างเหมาะสม โดยทั่วไปแล้วการแบ่งชิ้นส่วนของแพะจะแบ่งตามการใช้ประโยชน์ เช่น ส่วนที่ใช้ทำสเต๊ก: จะใช้เนื้อจากบริเวณหลัง เช่น สันในและสันนอก ส่วนที่ใช้ทำแกงหรือต้ม: เช่น ขาหรือเนื้อจากส่วนหน้า ส่วนที่ใช้ทำลาบหรือลูกชิ้น: เช่น เนื้อจากสะโพกหรือขาหน้า • การตัดชิ้นส่วนย่อย การตัดชิ้นส่วนย่อยจะทำได้ดีเมื่อแบ่งชิ้นส่วนใหญ่แล้ว ตัดเนื้อจากส่วนที่เป็นสะโพกหรือขาหลังออกเป็นชิ้นเล็กๆ สำหรับนำไปปรุงในแบบต่างๆ การตัดแต่งให้ชิ้นเนื้อมีขนาดพอดีและเหมาะสมกับประเภทการปรุง เช่น การต้ม การย่าง หรือการทอด • การตัดแต่งแบบไทย ในการตัดแต่งแบบไทยนั้นมักจะมีการแยกชิ้นส่วนเนื้อเพื่อให้เหมาะสมกับการทำอาหารไทย เช่น การทำแกงเผ็ด เนื้อแพะจะถูกตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ที่สะดวกในการเคี่ยวและดูดซึมรสชาติของเครื่องเทศ นอกจากนี้ยังมีการใช้สมุนไพรและเครื่องปรุงอื่นๆ เพื่อเพิ่มรสชาติให้เนื้อแพะ • วิธีการทำเนื้อแพะสไลด์ขึ้นรูป การทำเนื้อแพะสไลด์ขึ้นรูปนั้นมีวิธีที่สามารถทำได้หลายแบบ โดยทั่วไปแล้วจะต้องใช้มีดที่คมและบางเพื่อให้สามารถสไลด์เนื้อแพะได้บางและสม่ำเสมอ เทคนิคที่นิยมใช้ได้แก่: การแช่แข็งเนื้อแพะ: เพื่อให้เนื้อแข็งและสามารถตัดได้บางยิ่งขึ้น การใช้เครื่องสไลด์เนื้อ: เครื่องสไลด์ที่มีใบมีดคมสามารถช่วยให้การตัดเนื้อแพะเป็นชิ้นบางๆ มีขนาดเท่ากันและดูสวยงาม การตัดแต่งและแบ่งชิ้นส่วนแพะที่ถูกต้องจะช่วยให้ได้เนื้อที่มีคุณภาพดีในการนำไปใช้ทำอาหารต่างๆ ตามความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการอาหาร ผลลัพธ์และความคาดหวังจากการตัดแต่งและแบ่งชิ้นส่วนซากแพะ 1. ผู้เรียนจะสามารถใช้มีดและเครื่องมืออื่นๆ ในการตัดแต่งและแบ่งชิ้นส่วนของซากแพะได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งการแยกส่วนต่างๆ เช่น เนื้อ, กระดูก, ไขมัน, เครื่องใน โดยให้ความสำคัญกับการรักษาความสะอาดและสุขอนามัยขณะทำงาน 2. ผู้เรียนจะสามารถเข้าใจในโครงสร้างซากแพะ ระบุและเข้าใจโครงสร้างของซากแพะและส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตอาหารหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น การแยกเนื้อส่วนที่มีคุณภาพสูงจากส่วนที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์หรือผลิตภัณฑ์แปรรูป 3. ผู้เรียนจะได้เรียนรู้วิธีการใช้และดูแลรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตัดแต่งซากสัตว์ เช่น มีด, เครื่องมือสำหรับแยกกระดูก, และเครื่องมือสำหรับการทำความสะอาด 4. ผู้เรียนจะเข้าใจความสำคัญของการทำงานอย่างปลอดภัย เช่น การป้องกันการบาดเจ็บจากมีด, การใช้ถุงมือ, การดูแลสุขอนามัยและการจัดการกับซากสัตว์อย่างเหมาะสม 5. ผู้เรียนจะสามารถวิเคราะห์วิธีการตัดแต่งที่มีประสิทธิภาพและสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ เช่น การแปรรูปเนื้อหรือกระดูกให้เกิดประโยชน์สูงสุด